http://gkma4702
.tripod.com
แกนเหล็กแบบ (CoreType-ShellType)
แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบขดลวดไว้แผ่นเหล็ก แต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวน บนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลายแผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้นเป็นแกนเหล็กของหม้อแปลงซึ่งมีด้วยกันหลายรูป แบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ
Core และแบบ Shell ดูรูปที่
1
และ
2
(ก) แบบ
Core
(ข) แบบ
Shell
รูปที่1
แกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส
(ก) แบบ
Core
(ข) แบบ
Shell
รูปที่2
แกนเหล็กหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด
3 เฟส
1. แกนเหล็ก
เป็นแท่งแกนเหล็กสี่เหลี่ยมที่ประกอบขึ้นด้วยแผ่นเหล็กบางๆ หลายแผ่นมาประกอบติดกันเป็นแท่งเหล็กสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจจะเป็น สี่เหลี่ยบมผืนผ้าหรือจตุรัสก็ได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบที่พันบนแกนเหล็กของขดลวดทั้ง 2ชุด ว่ามากหรือน้อย แกนเหล็กของหม้อแปลงแบ่งออกได้ เป็น 2 แบบ คือ
1.1
แบบคอร์ไทพ์ (Core Type) ซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆ นำมาเรียงอัดติดกัน เป็นแท่ง จะเห็นแกนเหล็กแบบนี้ ขดลวดชุดไพมารี่ และขดลวดชุดเซ็คคันดารี่ จะพันอยู่ตรงส่วนด้านข้างของแกนเหล็กสี่เหลี่ยม โดยแยกพันข้างละ 1 ชุดฉะนั้นแกนเหล็กแบบนี่จึงเรียกว่าเป็นแบบชนิดขดลวด 1 หุ้มแกน ด้วยสาเหตุที่ขดลวดทั้ง 2 ชุดจะแยกพันลง บนขาแต่ละข้างของแกนเหล็ก ฉะนัน้ การระบายความร้อนจะอยู่ในขั้นดีมาก จึงเป็นที่นิยมนำแกนเหล็กแบบนี้ ไปใช้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่
1.2
แบบเชลลืไทพ์ (shell Type) ลักษณะของแกนเหล็กแบบนี้จะประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆ 2 ส่วน คือจะเป็นแผ่นเหล็กบางๆรูปตัวอี (E) และแผ่นเหล็กบางๆรูปตัวไอ (I) และนะแผ่นเหล็กบางๆรูปตัวอี และ ตัวไอ นี้มาเรียงประกอบกันเพื่ออัดติดกันเป็นแท่งเหล็ก ขดลวดชุดไพมารี่และขดลวดชุดเซ็คคันดารี่จะถูกพันรวมกันไว้ที่แกนเหล็กตรงขากลางของหม้อแปลงทั้งคู่ จึงพูดได้ว่าแกนเหล็กแบบนี้เป็นชนิดแกนหุ้มขดลวด ด้วยสาเหตุที่แกนเหล็กแบบนี้ ขดลวดทั้ง 2 ชุดพันทับกันอยู่ที่ขา กลางของแกนเหล็กร่วมกัน โดยขดลวดชุดใดที่มกระแสไฟไหลมาก จะพันไว้ข้างนอก ขดลวดชุดที่มีกระแสไฟไหลน้อยจะพันไว้ด้านในเป็นชุดแรก เหตุที่เอาขดลวดชุดที่มีกระแสไฟไหลมากไว้ข้างนอกเพื่อให้ระบายความร้อนได้ ง่าย ดังนั้น แกนเหล็กแบบนี้จึงเหมาะสำหรับหม้อแปลงที่มีขนาดเล็กหรือปลานกลาง