http://gkma4702

.tripod.com

 
   
 
การประกอบ (Assembly)
 
การประกอบส่วนที่เป็น Active Parts
                 
       Active Parts ได้แก่แกนเหล็กและขดลวดหม้อแปลง รวมถึงส่วนประกอบย่อยๆที่เกี่ยวข้องบางส่วน
     Passive Parts ได้แก่ระบบระบายความร้อน (ประกอบด้วยตัวถังและน้ำมันหม้อแปลง)
     ในการประกอบ คอยล์จะค่อยๆถูกยกสวมลงที่ขาแกนเหล็กทางด้านบน แล้วจึงประกอบแกนเหล็กส่วนบน (Upper Yoke) จากนั้นจะนำฝาตัวถังหม้อแปลงที่ได้ติดตั้งลูกถ้วยแรงสูง และแรงต่ำเรียบร้อยแล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วจึงต่อคอยล์แต่ละคอยล์กับลูกถ้วย รวมทั้งต่อขั้วของแทปต่างๆ เข้ากับอุปกรณ์เปลี่ยนแทป (Tap Changer) ซึ่งจะเป็นอุปกรณืที่ปรับลด หรือเพิ่มจำนวนรอบของคอยล์แรงสูง ตามจำนวนรอบที่ได้ออกแบบไว้
 
                 
     แทปมีหน้าที่ไว้เพื่อใช้ปรับเพิ่มแรงดันเมื่อเกิดแรงดันตก หรือเพื่อให้หม้อแปลงสามารถใช้งานได้กับแหล่งจ่ายไฟที่ไม่เสถียร สามารถรักษาระดับแรงดันด้านแรงต่ำให้คงที่ การปรับแทปจะทำไว้ด้านคอยล์แรงสูงเนื่องจากมีกระแสไหลต่ำที่สุด
   
การอบไล่ความชื้นด้วยระบบสูญญากาศ (Vacuum Drying)
หม้อแปลงไฟฟ้าจะต้องไม่มีความชื้นอยู่ภายในมิฉะนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอันตราย เนื่องจาก Flashover ในขดลวดส่วนที่เป็น Active Parts ของหม้อแปลงจะถูกอบไล่ความชื้นให้แห้งสนิท โดยหม้อแปลงที่ประกอบ Active Parts แล้วจะถูกนำมาอบไล่ความชื้นและเติมน้ำมันภายใต้สภาวะสูญญากาศ โดยจะต่อท่อสำหรับเติมน้ำมันไว้กับหม้อแปลงที่กำลังอบอยู่ในเตาอบสูญญากาศ (Vacuum Chamber) ปรับความดันภายในเตาอบจนกระทั่งอยู่ในภาวะสูญญากาศ แล้วจึงเติมน้ำมันเข้าไปในถังหม้อแปลง น้ำมันจะค่อยๆ เข้าไปแทนที่อากาศที่อาจหลงเหลืออยู่ภายในตัวถัง จนกระทั่งส่วนที่เป็น Active Parts ของหม้อแปลงทั้งหมดอยู่ในน้ำมัน  
   
 
   
 
 
การปรับแทปและการควบคุมแรงดัน (Tap Changing and Voltage Control)
สำหรับหม้อแปลงเจริญชัย ชนิด OLTC (On-Load Tap Changer) ทุกเครื่องจะใช้ OLTC ของ Maschinenfabrik Reinhausen (MR) Germany เนื่องจากมีความเชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้า หม้อแปลงเจริญชัยสามารถติดตั้งได้ทั้ง Off-Load Tap Changer และ On-Load Tap Changer (OLTC)
    นอกเหนือจากการทำงานแบบปกติ OLTC ยังสามารถทำงานแบบอัตโนมัติ โดยอาศัยการควบคุมจากตู้ควบคุมการเปลี่ยนแทประยะไกล (Remote Tap Changing Cubical : RTCC)
   
เมื่อไหร่จึงจำเป็นต้องมีการขนานหม้อแปลง?
   1. Circulating reactive current minimum method โดยวิธีการวัดค่ากระแส และควบคุมให้มีกระแสไหลเวียนในวงจรมีค่าต่ำที่สุด
   2. Master/Follower method โดยวิธีการเปรียบเทียบตำแหน่งของแทปของหม้อแปลงทุกตัวที่ขนานกัน และควบคุมให้ตำแหน่งของแทปของหม้อแปลงทุกตัวอยู่ในตำแหน่งเดียวกันหมด